การเปลี่ยนสถานะของน้ำ
แม้ว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ของบรรยากาศจะเป็นไนโตรเจนและออกซิเจน แต่แก๊สทั้งสองชนิดไม่ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวและจุดเยือกแข็งต่ำมาก อุณหภูมิของบรรยากาศและพื้นผิวโลกสูงเกินกว่าที่จะทำให้แก๊สทั้งสองชนิดเปลี่ยนสถานะได้ ยกตัวอย่าง หากจะทำให้แก๊สไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว อุณหภูมิอากาศจะต้องลดต่ำลงถึง -196°C ซึ่งเป็นไปไม่ได้เนื่องจากโลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไป ในทางตรงข้ามแม้บรรยากาศจะมีไอน้ำอยู่เพียงเล็กน้อย ประมาณ 0.1 - 4% แต่ก็มีอิทธิพลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้อย่างรุนแรง เป็นเพราะว่าน้ำในอากาศสามารถเปลี่ยนสถานะกลับไปกลับมาได้ทั้งสามสถานะ เนื่องจากอุณหภูมิ ณ จุดหลอมเหลวและจุดเยือกแข็งของน้ำไม่แตกต่างกันมาก
ไอน้ำ (Vapor) คือน้ำที่อยู่ในสถานะแก๊ส ไอน้ำเป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น โปร่งใสมองไม่เห็น น้ำในอากาศสามารถเปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่งกลับไปกลับมาได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาการถ่ายเทความร้อนและมวลสารจากสิ่งแวดล้อม กลไกการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เรียกว่า "กระบวนแอเดียแบติก" (Adiabatic process) การเปลี่ยนสถานะของน้ำทำให้การดูดกลืนหรือการคายความร้อนซึ่งเรียกว่า “ความร้อนแฝง” (Latent heat) ดังที่แสดงในภาพที่ 1 ความร้อนแฝงมีหน่วยวัดเป็นแคลอรี 1 แคลอรี เท่ากับปริมาณความร้อนซึ่งทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1°C (ดังนั้นหากเราเพิ่มความร้อน 10 แคลอรี ให้กับน้ำ 1 กรัม น้ำจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 10°C)
ภาพที่ 1 พลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำ
ภาพที่ 2 กราฟแสดงความร้อนแฝงที่ใช้เปลี่ยนสถานะของน้ำ
ก = สถานะของแข็ง, ข = หลอมละลาย, ค = สถานะของเหลว, ง = การระเหย อย่างไรก็ตามในการระเหยและควบแน่นของน้ำในธรรมชาตินั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้อุณหภูมิสูง 100°C การระเหยและควบแน่นของน้ำ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความกดอากาศ พลังงานแสงอาทิตย์ และกระแสลม เป็นต้น |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น